สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
เรื่องคำกล่าวทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
เนื้อหาที่จะสอน
ความหมายของอาเซียน
คำว่า“ASEAN” เป็นคำย่อมาจาก“Association of Southeast Asian Nations” แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงการต่างประเทศของไทยว่า“สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่มาของชื่อ“ASEAN” ปรากฏในคำประกาศปฏิญญาอาเซียนที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่8 สิงหาคม 2510 ว่า “รัฐมนตรีแห่งสภาเพรซิเดียมด้านการเมือง/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย รองนายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ประกาศ ณ ที่นี้ให้ก่อตั้งสมาคมเพื่อความร่วมมือแห่งภูมิภาคสาหรับประเทศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ใช้ชื่อว่าAssociation of Southeast Asian Nations (ASEAN)” และคำว่า “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) เป็นการสร้างสังคมภูมิภาคให้พลเมืองของทั้งสิบรัฐสมาชิกอาเซียนอยู่ร่วมกันฉันญาติมิตรในครอบครัวเดียวกัน หรือเป็นเพื่อนร่วมชุมชนคนหมู่บ้านเดียวกัน อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและเป็นตัวอย่าง ของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีพลังต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความก้าวหน้าของอาเซียน มีปัจจัยจากความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างรัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์และเอื้อต่อความร่วมมือระหว่างกัน ทาให้สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียดและการเผชิญหน้าในยุคสงครามเย็นมาสู่ ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน
คำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน(Greeting or say Goodbye in Asean )
ประเทศกัมพูชา( Cambodia)
คำทักทาย : ซัวสเด
คำกล่าวลา : เรียนซันเฮย
คำทักทาย : ซัวสเด
คำกล่าวลา : เรียนซันเฮย
ลักษณะการแสดงออก : การทักทายของชาวกัมพูชาจะคล้ายกับการไหว้ แต่จะโค้งศีรษะลงเพียงเล็กน้อย เอามือไว้ระดับหน้าอก
ประเทศฟิลิปปินส์(Philippine)
คำทักทาย : กูมุสตา
คำกล่าวลา : ปาลาม
ลักษณะการแสดงออก : ชาวฟิลิปปินส์จะจับมือหรือโค้งคำนับ
คำทักทาย : กูมุสตา
คำกล่าวลา : ปาลาม
ลักษณะการแสดงออก : ชาวฟิลิปปินส์จะจับมือหรือโค้งคำนับ
ประเทศพม่า (Myanmar)
คำทักทาย : มิงกะลาบา
คำกล่าวลา:ตาตา
ลักษณะการแสดงออก : ชาวพม่าจะทักทายกันด้วยการจับมือ และพูดคำว่า “มิงกะลาบา”
คำทักทาย : มิงกะลาบา
คำกล่าวลา:ตาตา
ลักษณะการแสดงออก : ชาวพม่าจะทักทายกันด้วยการจับมือ และพูดคำว่า “มิงกะลาบา”
ประเทศอินโดนีเซีย(Indonesia)
คำทักทาย : ซาลามัตเซียง
คำกล่าวลา:ซาลามัดจาลัน
ลักษณะการแสดงออก : ชาวอินโดนีเซียทักทายกันด้วยการจับมือ
คำทักทาย : ซาลามัตเซียง
คำกล่าวลา:ซาลามัดจาลัน
ลักษณะการแสดงออก : ชาวอินโดนีเซียทักทายกันด้วยการจับมือ
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia )
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา: ซือลามัต ติงฆัล
ลักษณะการแสดงออก : ผู้ชายจะจับมือทักทายกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา: ซือลามัต ติงฆัล
ลักษณะการแสดงออก : ผู้ชายจะจับมือทักทายกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง
ประเทศบรููไน (Brunei)
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา :ซือลามัต ติงฆัล
ลักษณะการแสดงออก : บรูไนใช้ภาษาเดียวกับมาเลเซีย จึงใช้คำว่า“ซาลามัต ดาตัง” เหมือนกัน และยังใช้วิธีการทักทายเหมือนกันคือ ผู้ชายจับมือกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา :ซือลามัต ติงฆัล
ลักษณะการแสดงออก : บรูไนใช้ภาษาเดียวกับมาเลเซีย จึงใช้คำว่า“ซาลามัต ดาตัง” เหมือนกัน และยังใช้วิธีการทักทายเหมือนกันคือ ผู้ชายจับมือกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง
ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
คำทักทาย : ซินจ่าว
คำกล่าวลา:ตามเบียด
ลักษณะการแสดงออก : ชาวเวียดนามจะทักทายด้วยการจับมือ 2 ข้าง และเด็กๆชาวเวียดนามจะกอดอกพร้อมกับโค้งตัวลงคำนับผู้ใหญ่
คำทักทาย : ซินจ่าว
คำกล่าวลา:ตามเบียด
ลักษณะการแสดงออก : ชาวเวียดนามจะทักทายด้วยการจับมือ 2 ข้าง และเด็กๆชาวเวียดนามจะกอดอกพร้อมกับโค้งตัวลงคำนับผู้ใหญ่
ประเทศลาว( laos)
คำทักทาย : สบายดี
คำกล่าวลา:โซกดี
ลักษณะการแสดงออก : ใช้การไหว้เป็นการทักทายเหมือนกับไทย ส่วนคำพูดที่ใช้ทักทาย
คำทักทาย : สบายดี
คำกล่าวลา:โซกดี
ลักษณะการแสดงออก : ใช้การไหว้เป็นการทักทายเหมือนกับไทย ส่วนคำพูดที่ใช้ทักทาย
ประเทศไทย ( Thailand)
คำทักทาย : สวัสดี
คำกล่าวลา : ลาก่อน
ลักษณะการแสดงออก : ยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ
คำทักทาย : สวัสดี
คำกล่าวลา : ลาก่อน
ลักษณะการแสดงออก : ยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ
ประเทศสิงคโปร์(Singapore)
คำทักทาย : หนีห่าว
คำกล่าวลา :จ๊ายเจี๊ยน
ลักษณะการแสดงออก : ชาวสิงคโปร์จะจับมือกันเบาๆ
คำทักทาย : หนีห่าว
คำกล่าวลา :จ๊ายเจี๊ยน
ลักษณะการแสดงออก : ชาวสิงคโปร์จะจับมือกันเบาๆ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสอนให้ทราบคำทักทายและคำกล่าวลาในประเทศอาเซียน
2.เพื่อสอนให้ทราบลักษณะการทักทายของประเทศในอาเซียน
3.เพื่อให้ทราบที่มาของการทักทายในอาเซียน
· แผนการสอน
1. สอน 1คาบ
2. สอน1 ชั่วโมงครึ่ง
3. 1 คาบสอนเรื่อง คำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
4. เทคนิคการสอน
4.1 แนะนำสื่อที่จะสอนนักเรียนใน 1 คาบ
4.2 ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนก่อนที่จะสอนเรื่องคำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
-สอนนักเรียนในเรื่องของคำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียนว่าพูดแบบไหน อ่านอย่างไร ลักษณะการทักทายเป็นอย่างไร
4.3 สรุปให้นักเรียนฟังเรื่องคำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียนอีกครั้ง
4.4 จากนั้นทบทวนบทเรียนด้วยการให้ทำเกมอาเซียน
4.5 ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหลังเรียนอีกครั้งเพื่อวัดความรู้ของนักเรียน
· วิธีการและรูปแบบการสอน
ขั้นที่ 1 ขั้นเร่งเร้าความสนใจ
-โดยการนำเสนอด้วยรูปภาพที่น่าสนใจการนำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นบอกวัตถุประสงค์
- บอกวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะสอนในบทเรียน
- บอกเนื้อหาที่ต้องการจะสอน
ขั้นที่ 3 ขั้นทบทวนความรู้เดิม
- นำเสนอเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน
- ข้อใดคือ อาเซียน (ASEAN) ?
- One Vision, One Identity, One Community? หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคมข้อความนี้มีชื่อเรียกอย่างไร
- อาเซียนก่อตั้งเมื่อใด ?
-สัญลักษณ์ของอาเซียนคืออะไร?
-กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้กำหนดให้ภาษาใดเป็นภาษาราชการของอาเซียน
-ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอเนื้อหาใหม่
ขั้นที่ 5 ชี้แนวทางการเรียนรู้
-โดยอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดบอกลักษณะของการทักทาย
ขั้นที่ 6 กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน
-โดยการถามคำถาม ระหว่างการนำบทเรียน
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- สังเกตการสนใจของผู้เรียนและกระตุ้นผู้เรียนโดยการนำ
เสนอที่สนุกสนาน
เสนอที่สนุกสนาน
ขั้นที่ 8 ทดสอบความรู้ใหม่
- โดยการทำแบบทดสอบหลังเรียน
-“ซัวสเด”เป็นคำทักทายหรือคำกล่าวลาของประเทศใด
-“จ๊ายเจี๊ยน” เป็นคำลาของประเทศใด
-ซาลามัดจาลัน เป็นคำทักทายหรือคำกล่าวลาของประเทศใด
-ปาลาม เป็นคำลาของประเทศใด
-ซินจ่าว เป็นคำทักทายประเทศใด
ขั้นที่ 9 ขั้นสรุปและการนำไปใช้
การสรุปและนำไปใช้เป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษา เนื้อหาผ่านมาแล้ว
ขั้นตอนและกระบวนการผลิต
1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะทำ
2. ตั้งวัตถุประสงค์ในการทำ CAI
3. วางแผนว่าควรทำ CAI แบบใดและออกแบบอย่างไร
4. ทำสตอรี่บอร์ดขึ้นว่าเพื่อเป็นโครงร่างในการทำ CAI
5. จากนั้นเปิดโปรแกรม PowerPoint แล้วออกแบบ CAI ให้สวยงาม
6. เมื่อสร้าง CAI เรียบร้อยแล้วก็นำไปทดลองสอนกับเพื่อนกลุ่ม 3 คน
7. จากนั้นให้เพื่อนประเมินความพึงพอใจ สรุปผลในการทำ CAI
8. นำ CAI ไปใช้กับเพื่อนๆ และสามารถนำไปสอนบุคคลอื่นได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
o สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
o ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง
o ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
o ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียน มีโอกาสเลือกตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
o ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ
o ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
o ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
o สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
o สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ
o ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน
o ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย
o ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถส่งบทเรียนฯ ไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย
ข้อดี
o สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
o ดึงดูดความสนใจ
o ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
o ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ
o ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้
ข้อเสีย
o การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
o ต้องอาศัยความคิดจากผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากในการระดมความคิด
o ใช้เวลาในการพัฒนานาน
o การออกแบบสื่อ กระทำได้ยาก และซับซ้อน
ข้อเสนอแนะ
-ในการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ก่อนเรียนผู้สอนควรมีการแนะนำให้ผู้เรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีการใช้บทเรียน รวมทั้งขั้นตอนในการศึกษาบทเรียน เพราะผู้เรียนบางคนไม่คุ้นเคย
- เนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรนำเสนอบทเรียน จากเรื่องง่ายไปหายาก เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
- จากการศึกษาพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จะนำมาใช้กับบทเรียนของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรเป็นเครื่องมือที่มีความพร้อมในด้านของหน่วยความจำ และระบเสียง เพราะอาจจะทำให้ภาพช้า หรือเสียงไม่สม่ำเสมอได้ เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นการนำเสนอด้วยสื่อผสม เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนให้ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด
จัดทำโดย
นางสาวเบญจวรรณ บุญมา รหัส 5810111203052
นางสาวพัชธิดา สลางสิงห์ รหัส 5810111203061
นางสาวนันท์ภรณ์ จันทร์เชื้อ รหัส 5810111203065
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 1 หมู่ที่ 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น