วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง: การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
Thesis Title: Use of Instructional Innovation of English Teachers in the Secondary School
ความสำคัญและความเป็นมา
การจัดการศึกษาในปัจจุบันมีความเป็นสากลมากขึ้น สภาพโลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายองค์ความรู้ กฎกติกาการดำเนินการด้านต่าง ๆทั้งการค้า การลงทุน การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เชื่อมต่อถึงกัน ประกอบกับมีการเปิดเสรีทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดการหลั่งไหลหลักสูตรการเรียนการสอน บุคลากรด้านการสอน หลักสูตรจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศเข้าสู่ไทย อันมีผลทำให้เกิดการเปรียบเทียบและผลักดันให้สถาบันการศึกษาไทย ต้องพัฒนาการจัดการศึกษาที่มีความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับตลอดจนเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนกับนานาประเทศของไทย ก็ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมในระดับสากล โดยในตลอดหลายปีที่ผ่านมานั้น การศึกษาของไทยได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้เด็กไทย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นทักษะสำคัญในการก้าวไปสู่ความเป็นสากล แต่ดูเหมือนว่าความพยายามดังกล่าวจะไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ดังจะเห็นได้ว่า เด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษเป็นระยะเวลานับสิบปี แต่กลับไม่สามารถพูดอ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้ดีเท่าที่ควร ยิ่งปัจจุบันประเทศไทยต้องติดต่อสื่อสารกับหลายประเทศเพื่อประโยชน์ในการติดต่อด้านธุรกิจ การท่องเที่ยว การศึกษา และการสร้างความสัมพันธ์อันดีด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ จึงทำให้เกิดการสอน 2 ภาษา และ 3 ภาษาในประเทศไทยขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทางภาษา ให้ผู้เรียนมีทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาต่างประเทศ ( เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2551 หน้า 32 ) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนไทยเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นทางด้านการศึกษาจึงได้มีการกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับเลือกในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนในทุกช่วงชั้น โดยจัดให้อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษและพัฒนาความสามารถด้านทักษะการฟัง พูด อ่านเขียน สามารถติดต่อสื่อสาร รับข่าวสารและพัฒนาเพื่อการศึกษาต่อในอนาคต ( กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ, 2545 หน้า 7 ) ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงได้มีการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียน และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ( อำนาจ จันทร์แป้น, 2532 หน้า 3 )เมื่อนำเอานวัตกรรมเข้ามาผนวกกับการศึกษาเพื่อช่วยในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแล้วจึงเรียกนวัตกรรมดังกล่าวว่า " นวัตกรรมการศึกษา " หรือ “ Educational Innovation ”โดยนวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น ทั้งยังประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและที่กำลังเผยแพร่ ตัวอย่างนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Aids Instruction ) การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ ( Interactive Video ) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น( กิดานันท์ มะลิทอง, 2548 หน้า 17 )
ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ก็ได้มีการพยายามที่จะนำนวัตกรรม
การศึกษาเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างได้ผลดีมีประสิทธิภาพ โดยนวัตกรรมหนึ่งที่นำมาใช้ก็คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ เพื่อช่วยในการสอนภาษาอังกฤษ โปรแกรม Tell Me More ก็เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมหนึ่งที่ทางโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาได้นำมาใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ โดยอยู่ในลักษณะของบทเรียนe – learning สามารถตอบสนองการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านต่างๆ ทั้ง การฟัง พูด อ่าน เขียนคำศัพท์ หลักไวยากรณ์ และ บริบททางวัฒนธรรมให้กับผู้เรียน ซึ่งก็ได้มีสถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจและได้นำโปรแกรม Tell Me More ไปใช้ในการเรียนภาษาโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนในฝันเป็นหน่วยงานหนึ่งที่นำโปรแกรม Tell Me More ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตามนโยบายโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน และได้ดำเนินการใช้โปรแกรมนำโปรแกรม Tell Me More ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษมาเป็นระยะหนึ่ง สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนในฝันทั้งหมดจำนวน 14 โรง ซึ่งมีโรงเรียนที่นำ โปรแกรมTell Me More ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศ มีจำนวน 4 โรง คือ โรงเรียนสันกำแพง, โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย, โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ และโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม ทั้งนี้ด้วยเหตุที่มีงบประมาณอย่างเพียงพอมาช่วย สนับสนุนในการจัดซื้อโปรแกรมดังกล่าว แต่เนื่องจากโปรแกรม Tell Me More เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทเอกชน ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้สอนโดยตรง โปรแกรมดังกล่าวอาจจะไม่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับเนื้อหา วิธีการสอนโดยตรง ดังนั้นผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะศึกษาการใช้โปรแกรม Tell Me More ของครูผู้สอนในโรงเรียนว่ามีความสอดคล้องกับหลักสูตร เนื้อหาวิชาและวิธีสอนหรือไม่ เหมาะสมกับผู้เรียนหรือไม่ อย่างไร โดยทั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกที่จะทำการศึกษากับโรงเรียนสันกำแพง, โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย, โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ และโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม ซึ่งจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวจะทำให้ทราบถึงการใช้โปรแกรม Tell Me More ของครูผู้สอนมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร ตลอดจนครูผู้สอนได้มีแนวทางในการใช้โปรแกรมดังกล่าวอย่างไรบ้าง หลังจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะทำให้ทราบถึงความเหมาะสมของการนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ ว่ามีข้อดีหรือข้อจำกัดอย่างไร ซึ่งจะทำให้ผู้สอนได้แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

เครื่องมือที่เป็นนวัตรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Aids Instruction )
2.การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ ( Interactive Video )
3.สื่อหลายมิติ ( Hypermedia )
4.อินเตอร์เน็ต (Internet)
5.โปรแกรม Tell Me More

ปัญหาที่ทำให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
·       มีการเปิดเสรีทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดการหลั่งไหลหลักสูตรการเรียนการสอน บุคลากรด้านการสอน หลักสูตรจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศเข้าสู่ไทย อันมีผลทำให้เกิดการเปรียบเทียบและผลักดันให้สถาบันการศึกษาไทย ต้องพัฒนาการจัดการศึกษาที่มีความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับ
·       มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนกับนานาประเทศของไทย ก็ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมในระดับสากล โดยในตลอดหลายปีที่ผ่านมานั้น การศึกษาของไทยได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้เด็กไทย

รูปตัวอย่างโปรแกรม Tell me more
















        โดย
นางสาวเบญจวรรณ  บุญมา    รหัสนักศึกษา  5810111203052
นางสาวนันทภรณ์  จันทร์เชื้อ  รหัสนักศึกษา  5810111203065

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่  1  หมู่ที่  2
คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น