ทฤษฎีการเรียนพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้
- สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
- สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ
- สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว
การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response หรือ CR) คือ การตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
- การแผ่ขยาย (Generalization) คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มี ความหมายคล้ายคลึงกันได้
- การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
- การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
๑)ประโยชน์ที่ได้รับจากทฤษฎีนี้
ก. ใช้ในการคิดหาความสามารถในการสัมผัสและการรับรู้
ข. ใช้ในการแก้พฤติกรรมที่เป็นปัญหา
ค. ใช้ในการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับอารมณ์ และเจตคติ
๒) การนำหลักการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟไปใช้ในการเรียนการสอน
ก. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) ความแตกต่างทางด้านอารมณ์ผู้เรียนตอบสนองได้ไม่เท่ากัน ในแง่นี้จำเป็นมากที่ครูต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ของผู้เรียนว่า จะสร้างอารมณ์ให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยการสนใจที่จะเรียนได้อย่างไร
ข. การวางเงื่อนไข (Conditioning) การวางเงื่อนไขเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียน หรือสิ่งแวดล้อมในการเรียนหรือแม้แต่ตัวครูได้ ด้วยเหตุนี้ เราอาจกล่าวได้ว่าหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของครูเป็นผู้สร้างสภาวะทางอารมณ์นั่นเอง
ค. การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข (Extinction) ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวครู เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ครูทำโทษเขา โดยปกติก็มักจะพยายามมิให้ UCS. เกิดขึ้นหรือทำให้หายไป นอกจากนี้ก็อาจใช้วิธีลดความแรงของ UCS. ให้น้อยลงจนไม่อยู่ในระดับนี้จะทำให้เกิดพฤติกรรมทางอารมณ์นั้นขึ้นได้
ง. การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง (Generalization และDiscrimination) การสรุปความเหมือนนั้นเป็นดาบสองคม คือ อาจเป็นในด้านที่เป็นโทษและเป็นคุณ ในด้านที่เป็นโทษก็เช่น การที่นักเรียนเกลียดครูสตรีคนใดคนหนึ่งแล้วก็จะเกลียดครูสตรีหมดทุกคน เป็นต้น ถ้าหากนักเรียนเกิดการสรุปความเหมือนในแง่ลบนี้แล้ว ครูจะหาทางลดให้ CR อันเป็นการสรุป กฎเกณฑ์ที่ผิด ๆ หายไป ส่วนในด้านที่เป็นคุณนั้น ครูควรส่งเสริมให้มาก นักเรียนมีโอกาสพบ สิ่งเร้าใหม่ ๆ เพื่อจะได้ใช้ความรู้และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้กว้างขวางมากขึ้น
ตัวอย่างเกี่ยวกับการสรุปความเหมือนที่ใช้ในการสอนนี้ คือ การอ่านและการสะกดคำนักเรียนที่สามารถสะกดคำว่า " round " เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง O - U - N - D ไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า around , found , bound , sound , ground , mound , pound แต่คำว่า wound (ซึ่งหมายถึงบาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง O - U - N - D และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม (Discrimination)
- การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
- การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
ค. ใช้ในการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับอารมณ์ และเจตคติ
ตัวอย่างเกี่ยวกับการสรุปความเหมือนที่ใช้ในการสอนนี้ คือ การอ่านและการสะกดคำนักเรียนที่สามารถสะกดคำว่า " round " เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง O - U - N - D ไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า around , found , bound , sound , ground , mound , pound แต่คำว่า wound (ซึ่งหมายถึงบาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง O - U - N - D และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม (Discrimination)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น