Nuntaporn
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง คำกล่าวทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
เรื่องคำกล่าวทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
เนื้อหาที่จะสอน
ความหมายของอาเซียน
คำว่า“ASEAN” เป็นคำย่อมาจาก“Association of Southeast Asian Nations” แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงการต่างประเทศของไทยว่า“สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่มาของชื่อ“ASEAN” ปรากฏในคำประกาศปฏิญญาอาเซียนที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่8 สิงหาคม 2510 ว่า “รัฐมนตรีแห่งสภาเพรซิเดียมด้านการเมือง/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย รองนายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ประกาศ ณ ที่นี้ให้ก่อตั้งสมาคมเพื่อความร่วมมือแห่งภูมิภาคสาหรับประเทศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ใช้ชื่อว่าAssociation of Southeast Asian Nations (ASEAN)” และคำว่า “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) เป็นการสร้างสังคมภูมิภาคให้พลเมืองของทั้งสิบรัฐสมาชิกอาเซียนอยู่ร่วมกันฉันญาติมิตรในครอบครัวเดียวกัน หรือเป็นเพื่อนร่วมชุมชนคนหมู่บ้านเดียวกัน อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและเป็นตัวอย่าง ของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีพลังต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความก้าวหน้าของอาเซียน มีปัจจัยจากความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างรัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์และเอื้อต่อความร่วมมือระหว่างกัน ทาให้สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียดและการเผชิญหน้าในยุคสงครามเย็นมาสู่ ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน
คำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน(Greeting or say Goodbye in Asean )
ประเทศกัมพูชา( Cambodia)
คำทักทาย : ซัวสเด
คำกล่าวลา : เรียนซันเฮย
คำทักทาย : ซัวสเด
คำกล่าวลา : เรียนซันเฮย
ลักษณะการแสดงออก : การทักทายของชาวกัมพูชาจะคล้ายกับการไหว้ แต่จะโค้งศีรษะลงเพียงเล็กน้อย เอามือไว้ระดับหน้าอก
ประเทศฟิลิปปินส์(Philippine)
คำทักทาย : กูมุสตา
คำกล่าวลา : ปาลาม
ลักษณะการแสดงออก : ชาวฟิลิปปินส์จะจับมือหรือโค้งคำนับ
คำทักทาย : กูมุสตา
คำกล่าวลา : ปาลาม
ลักษณะการแสดงออก : ชาวฟิลิปปินส์จะจับมือหรือโค้งคำนับ
ประเทศพม่า (Myanmar)
คำทักทาย : มิงกะลาบา
คำกล่าวลา:ตาตา
ลักษณะการแสดงออก : ชาวพม่าจะทักทายกันด้วยการจับมือ และพูดคำว่า “มิงกะลาบา”
คำทักทาย : มิงกะลาบา
คำกล่าวลา:ตาตา
ลักษณะการแสดงออก : ชาวพม่าจะทักทายกันด้วยการจับมือ และพูดคำว่า “มิงกะลาบา”
ประเทศอินโดนีเซีย(Indonesia)
คำทักทาย : ซาลามัตเซียง
คำกล่าวลา:ซาลามัดจาลัน
ลักษณะการแสดงออก : ชาวอินโดนีเซียทักทายกันด้วยการจับมือ
คำทักทาย : ซาลามัตเซียง
คำกล่าวลา:ซาลามัดจาลัน
ลักษณะการแสดงออก : ชาวอินโดนีเซียทักทายกันด้วยการจับมือ
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia )
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา: ซือลามัต ติงฆัล
ลักษณะการแสดงออก : ผู้ชายจะจับมือทักทายกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา: ซือลามัต ติงฆัล
ลักษณะการแสดงออก : ผู้ชายจะจับมือทักทายกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง
ประเทศบรููไน (Brunei)
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา :ซือลามัต ติงฆัล
ลักษณะการแสดงออก : บรูไนใช้ภาษาเดียวกับมาเลเซีย จึงใช้คำว่า“ซาลามัต ดาตัง” เหมือนกัน และยังใช้วิธีการทักทายเหมือนกันคือ ผู้ชายจับมือกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง
คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง
คำกล่าวลา :ซือลามัต ติงฆัล
ลักษณะการแสดงออก : บรูไนใช้ภาษาเดียวกับมาเลเซีย จึงใช้คำว่า“ซาลามัต ดาตัง” เหมือนกัน และยังใช้วิธีการทักทายเหมือนกันคือ ผู้ชายจับมือกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง
ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
คำทักทาย : ซินจ่าว
คำกล่าวลา:ตามเบียด
ลักษณะการแสดงออก : ชาวเวียดนามจะทักทายด้วยการจับมือ 2 ข้าง และเด็กๆชาวเวียดนามจะกอดอกพร้อมกับโค้งตัวลงคำนับผู้ใหญ่
คำทักทาย : ซินจ่าว
คำกล่าวลา:ตามเบียด
ลักษณะการแสดงออก : ชาวเวียดนามจะทักทายด้วยการจับมือ 2 ข้าง และเด็กๆชาวเวียดนามจะกอดอกพร้อมกับโค้งตัวลงคำนับผู้ใหญ่
ประเทศลาว( laos)
คำทักทาย : สบายดี
คำกล่าวลา:โซกดี
ลักษณะการแสดงออก : ใช้การไหว้เป็นการทักทายเหมือนกับไทย ส่วนคำพูดที่ใช้ทักทาย
คำทักทาย : สบายดี
คำกล่าวลา:โซกดี
ลักษณะการแสดงออก : ใช้การไหว้เป็นการทักทายเหมือนกับไทย ส่วนคำพูดที่ใช้ทักทาย
ประเทศไทย ( Thailand)
คำทักทาย : สวัสดี
คำกล่าวลา : ลาก่อน
ลักษณะการแสดงออก : ยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ
คำทักทาย : สวัสดี
คำกล่าวลา : ลาก่อน
ลักษณะการแสดงออก : ยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ
ประเทศสิงคโปร์(Singapore)
คำทักทาย : หนีห่าว
คำกล่าวลา :จ๊ายเจี๊ยน
ลักษณะการแสดงออก : ชาวสิงคโปร์จะจับมือกันเบาๆ
คำทักทาย : หนีห่าว
คำกล่าวลา :จ๊ายเจี๊ยน
ลักษณะการแสดงออก : ชาวสิงคโปร์จะจับมือกันเบาๆ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสอนให้ทราบคำทักทายและคำกล่าวลาในประเทศอาเซียน
2.เพื่อสอนให้ทราบลักษณะการทักทายของประเทศในอาเซียน
3.เพื่อให้ทราบที่มาของการทักทายในอาเซียน
· แผนการสอน
1. สอน 1คาบ
2. สอน1 ชั่วโมงครึ่ง
3. 1 คาบสอนเรื่อง คำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
4. เทคนิคการสอน
4.1 แนะนำสื่อที่จะสอนนักเรียนใน 1 คาบ
4.2 ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนก่อนที่จะสอนเรื่องคำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียน
-สอนนักเรียนในเรื่องของคำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียนว่าพูดแบบไหน อ่านอย่างไร ลักษณะการทักทายเป็นอย่างไร
4.3 สรุปให้นักเรียนฟังเรื่องคำทักทายและคำกล่าวลาในอาเซียนอีกครั้ง
4.4 จากนั้นทบทวนบทเรียนด้วยการให้ทำเกมอาเซียน
4.5 ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหลังเรียนอีกครั้งเพื่อวัดความรู้ของนักเรียน
· วิธีการและรูปแบบการสอน
ขั้นที่ 1 ขั้นเร่งเร้าความสนใจ
-โดยการนำเสนอด้วยรูปภาพที่น่าสนใจการนำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นบอกวัตถุประสงค์
- บอกวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะสอนในบทเรียน
- บอกเนื้อหาที่ต้องการจะสอน
ขั้นที่ 3 ขั้นทบทวนความรู้เดิม
- นำเสนอเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน
- ข้อใดคือ อาเซียน (ASEAN) ?
- One Vision, One Identity, One Community? หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคมข้อความนี้มีชื่อเรียกอย่างไร
- อาเซียนก่อตั้งเมื่อใด ?
-สัญลักษณ์ของอาเซียนคืออะไร?
-กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้กำหนดให้ภาษาใดเป็นภาษาราชการของอาเซียน
-ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอเนื้อหาใหม่
ขั้นที่ 5 ชี้แนวทางการเรียนรู้
-โดยอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดบอกลักษณะของการทักทาย
ขั้นที่ 6 กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน
-โดยการถามคำถาม ระหว่างการนำบทเรียน
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- สังเกตการสนใจของผู้เรียนและกระตุ้นผู้เรียนโดยการนำ
เสนอที่สนุกสนาน
เสนอที่สนุกสนาน
ขั้นที่ 8 ทดสอบความรู้ใหม่
- โดยการทำแบบทดสอบหลังเรียน
-“ซัวสเด”เป็นคำทักทายหรือคำกล่าวลาของประเทศใด
-“จ๊ายเจี๊ยน” เป็นคำลาของประเทศใด
-ซาลามัดจาลัน เป็นคำทักทายหรือคำกล่าวลาของประเทศใด
-ปาลาม เป็นคำลาของประเทศใด
-ซินจ่าว เป็นคำทักทายประเทศใด
ขั้นที่ 9 ขั้นสรุปและการนำไปใช้
การสรุปและนำไปใช้เป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษา เนื้อหาผ่านมาแล้ว
ขั้นตอนและกระบวนการผลิต
1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะทำ
2. ตั้งวัตถุประสงค์ในการทำ CAI
3. วางแผนว่าควรทำ CAI แบบใดและออกแบบอย่างไร
4. ทำสตอรี่บอร์ดขึ้นว่าเพื่อเป็นโครงร่างในการทำ CAI
5. จากนั้นเปิดโปรแกรม PowerPoint แล้วออกแบบ CAI ให้สวยงาม
6. เมื่อสร้าง CAI เรียบร้อยแล้วก็นำไปทดลองสอนกับเพื่อนกลุ่ม 3 คน
7. จากนั้นให้เพื่อนประเมินความพึงพอใจ สรุปผลในการทำ CAI
8. นำ CAI ไปใช้กับเพื่อนๆ และสามารถนำไปสอนบุคคลอื่นได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
o สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
o ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง
o ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
o ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียน มีโอกาสเลือกตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
o ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ
o ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
o ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
o สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
o สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ
o ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน
o ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย
o ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถส่งบทเรียนฯ ไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย
ข้อดี
o สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
o ดึงดูดความสนใจ
o ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
o ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ
o ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้
ข้อเสีย
o การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
o ต้องอาศัยความคิดจากผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากในการระดมความคิด
o ใช้เวลาในการพัฒนานาน
o การออกแบบสื่อ กระทำได้ยาก และซับซ้อน
ข้อเสนอแนะ
-ในการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ก่อนเรียนผู้สอนควรมีการแนะนำให้ผู้เรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีการใช้บทเรียน รวมทั้งขั้นตอนในการศึกษาบทเรียน เพราะผู้เรียนบางคนไม่คุ้นเคย
- เนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรนำเสนอบทเรียน จากเรื่องง่ายไปหายาก เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
- จากการศึกษาพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จะนำมาใช้กับบทเรียนของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรเป็นเครื่องมือที่มีความพร้อมในด้านของหน่วยความจำ และระบเสียง เพราะอาจจะทำให้ภาพช้า หรือเสียงไม่สม่ำเสมอได้ เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นการนำเสนอด้วยสื่อผสม เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนให้ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด
จัดทำโดย
นางสาวเบญจวรรณ บุญมา รหัส 5810111203052
นางสาวพัชธิดา สลางสิงห์ รหัส 5810111203061
นางสาวนันท์ภรณ์ จันทร์เชื้อ รหัส 5810111203065
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 1 หมู่ที่ 2
สื่อการเรียนรู้ "ชุดการสอน"
ชุดการสอน (Instructional
Package)
คือ การนำเอาระบบสื่อประสม (Multi-media) ที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย
มาช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ชุดการสอนนิยมจัดไว้ในกล่อง หรือซองเป็นหมวด ๆ
ภายในชุดการสอนประกอบด้วยคู่มือการใช้ชุดการสอน สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา
และประสบการณ์ อาทิเช่น รูปภาพ สไลด์ เทป แผ่นคำบรรยาย ฯลฯ ในการสร้างชุดการสอนนี้จะใช้วิธีระบบเป็นหลักสำคัญด้วย
จึงทำให้มั่นใจได้ว่าชุดการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
และยังช่วยให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจพร้อมที่จะสอนอีกด้วย
แนวคิดและหลักการของชุดการสอน
1. การประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ความพยายามที่จะเปลี่ยนแนวการเรียนการสอน จากการยึดครูเป็นหลักมาเป็นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเอง เปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอน มาเป็นใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนเรียน
3. ยึดทฤษฎีกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการจัดระบบการผลิตสื่อในรูปของชุดการสอน ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนมาใช้
1. การประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ความพยายามที่จะเปลี่ยนแนวการเรียนการสอน จากการยึดครูเป็นหลักมาเป็นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเอง เปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอน มาเป็นใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนเรียน
3. ยึดทฤษฎีกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการจัดระบบการผลิตสื่อในรูปของชุดการสอน ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนมาใช้
ประเภทของชุดการเรียนการสอน
1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย หรือชุดการสอนสำหรับครู
เป็นชุดการสอนสำหรับใช้สอนผู้เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ ภายในกล่องจะประกอบด้วยสื่อการสอนที่ใช้ประกอบการบรรยาย เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากยิ่งขึ้น โดยจะแบ่งเนื้อหาตามหัวข้อที่จะบรรยายและประกอบกิจกรรมตามลำดับขั้น ดังนั้น สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือได้ยินกันอย่างทั่วถึง เช่น แผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ แผนภูมิ แผนภาพ โทรทัศน์ เอกสารประกอบการบรรยายและกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้อภิปรายตามปัญหาและหัวข้อที่ครูกำหนดไว้
2. ชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม หรือชุดการสอนที่ใช้กับศูนย์เรียน
เป็นชุดการสอนแบบกิจกรรม ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยระบบการผลิตสื่อการสอนตามหน่วยและหัวเรื่อง โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมประกอบกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 5 - 7 คนในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มนี้ ประกอบด้วยชุดย่อย ๆ ตามจำนวนศูนย์ในแต่ละหน่วย ในแต่ละศูนย์จะจัดสื่อการสอนไว้ในรูปของสื่อประสม อาจเป็นสื่อรายบุคคล หรือสื่อสำหรับกลุ่มผู้เรียนทั้งศูนย์ใช้ร่วมกัน
1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย หรือชุดการสอนสำหรับครู
เป็นชุดการสอนสำหรับใช้สอนผู้เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ ภายในกล่องจะประกอบด้วยสื่อการสอนที่ใช้ประกอบการบรรยาย เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากยิ่งขึ้น โดยจะแบ่งเนื้อหาตามหัวข้อที่จะบรรยายและประกอบกิจกรรมตามลำดับขั้น ดังนั้น สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือได้ยินกันอย่างทั่วถึง เช่น แผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ แผนภูมิ แผนภาพ โทรทัศน์ เอกสารประกอบการบรรยายและกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้อภิปรายตามปัญหาและหัวข้อที่ครูกำหนดไว้
2. ชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม หรือชุดการสอนที่ใช้กับศูนย์เรียน
เป็นชุดการสอนแบบกิจกรรม ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยระบบการผลิตสื่อการสอนตามหน่วยและหัวเรื่อง โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมประกอบกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 5 - 7 คนในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มนี้ ประกอบด้วยชุดย่อย ๆ ตามจำนวนศูนย์ในแต่ละหน่วย ในแต่ละศูนย์จะจัดสื่อการสอนไว้ในรูปของสื่อประสม อาจเป็นสื่อรายบุคคล หรือสื่อสำหรับกลุ่มผู้เรียนทั้งศูนย์ใช้ร่วมกัน
3. ชุดการสอนแบบรายบุคคลหรือชุดการสอนตามเอกัตภาพหรือชุดการเรียน
เป็นชุดการสอนที่มีการจัดระบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองตามลำดับขั้นที่ระบุไว้ โดยผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองตามความสนใจและตามอัตราการเรียนรู้ของแต่ละคน ผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง ชุดการสอนประเภทนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมด้วยตนเอง หรือผู้เรียนอาจนำชุดการสอนประเภทนี้ไปศึกษาเองที่บ้านได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม และฝึกฝนให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
เป็นชุดการสอนที่มีการจัดระบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองตามลำดับขั้นที่ระบุไว้ โดยผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองตามความสนใจและตามอัตราการเรียนรู้ของแต่ละคน ผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง ชุดการสอนประเภทนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมด้วยตนเอง หรือผู้เรียนอาจนำชุดการสอนประเภทนี้ไปศึกษาเองที่บ้านได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม และฝึกฝนให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
องค์ประกอบของชุดการสอน
1. คู่มือและแบบปฏิบัติ สำหรับครูผู้ใช้ชุดการสอนและผู้เรียนที่ต้องเรียนจากชุดการสอน
2. คำสั่งหรือการมอบหมายงาน เพื่อกำหนดแนวทางของการเรียนให้นักเรียน
3. เนื้อหาสาระ ซึ่งบรรจุอยู่ในรูปของสื่อประสม และกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งกำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
4. การประเมินผล เป็นการประเมินผลของกระบวนการ และผลของการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการใช้ดังนี้
1. ขั้นทดสอบก่อนเรียน ควรจะมีการตรวจสอบความรู้พื้นฐานในเรื่องที่จะ เรียนก่อน
2. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ในขั้นนี้ผู้สอนควรนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนก่อนเรียน
3. ขั้นประกอบกิจกรรม ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนรู้แบบActive Learning ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี แต่คำสั่งที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามนั้นควรมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
4. ขั้นสรุปและทดสอบหลังเรียน เพื่อให้ทราบว่าหลังจากที่ผู้เรียนเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ในเรื่องหรือไม่ และ ยังทำให้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
1. คู่มือและแบบปฏิบัติ สำหรับครูผู้ใช้ชุดการสอนและผู้เรียนที่ต้องเรียนจากชุดการสอน
2. คำสั่งหรือการมอบหมายงาน เพื่อกำหนดแนวทางของการเรียนให้นักเรียน
3. เนื้อหาสาระ ซึ่งบรรจุอยู่ในรูปของสื่อประสม และกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งกำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
4. การประเมินผล เป็นการประเมินผลของกระบวนการ และผลของการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการใช้ดังนี้
1. ขั้นทดสอบก่อนเรียน ควรจะมีการตรวจสอบความรู้พื้นฐานในเรื่องที่จะ เรียนก่อน
2. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ในขั้นนี้ผู้สอนควรนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนก่อนเรียน
3. ขั้นประกอบกิจกรรม ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนรู้แบบActive Learning ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี แต่คำสั่งที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามนั้นควรมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
4. ขั้นสรุปและทดสอบหลังเรียน เพื่อให้ทราบว่าหลังจากที่ผู้เรียนเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ในเรื่องหรือไม่ และ ยังทำให้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
ประโยชน์ของชุดการสอน
1. ส่งเสริมการเรียนแบบรายบุคล
2. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู
3. ช่วยในการศึกษานอกระบบโรงเรียน
4. ลดภาระและสร้างความมั่นใจให้กับครู
5. เป็นประโยชน์ในการสอนแบบศูนย์การเรียน
6. ช่วยให้สามารถวัดผลได้ตามความมุ่งหมาย
7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
8. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเคารพ นับถือ ความคิดเห็นของผู้อื่น
1. ส่งเสริมการเรียนแบบรายบุคล
2. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู
3. ช่วยในการศึกษานอกระบบโรงเรียน
4. ลดภาระและสร้างความมั่นใจให้กับครู
5. เป็นประโยชน์ในการสอนแบบศูนย์การเรียน
6. ช่วยให้สามารถวัดผลได้ตามความมุ่งหมาย
7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
8. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเคารพ นับถือ ความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณค่าของชุดการสอน
1. ช่วยเร้าความสนใจ เนื่องจากผู้เรียนจะประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจต่อการเรียนตลอดเวลา
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี เนื่องจากนักเรียนสามารถเรียนได้ตามความสนใจ และตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง
3. ส่งเสริมและฝึกหัดให้ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบตนเองและสังคม
4. ช่วยให้การเรียนเป็นอิสระจากบุคลิกภาพของผู้สอน เนื่องจากผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้บรรยายมาเป็นผู้แนะนำ ช่วยเหลือ และใช้ชุดการสอนทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ แทนครู
5. แก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะชุดการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และตามโอกาสที่เอื้ออำนวยให้แก่ผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่างกัน
6. สร้างความพร้อม และความมั่นใจให้แก่ครู เพราะในการผลิตชุดการสอนนั้นได้จัดระบบการใช้สื่อการสอน ทั้งการผลิตสื่อการสอน กิจกรรม ตลอดจนข้อแนะนำการใช้สำหรับผู้สอน สามารถนำไปใช้ได้ทันที
7. ส่งเสริมการเรียนแบบต่อเนื่องหรือการศึกษาตลอดชีพ เพราะสามารถนำชุดการสอนไปศึกษาด้วยตนเองได้ทุกเวลา และทุกสถานที่
8. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพราะชุดการสอนได้ผลิตขึ้นโดยใช้วิธีระบบและกลุ่มผู้มีความรู้ความสามารถ มีการทดลองใช้จนแน่ใจว่าใช้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้วจึงนำออกใช้
1. ช่วยเร้าความสนใจ เนื่องจากผู้เรียนจะประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจต่อการเรียนตลอดเวลา
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี เนื่องจากนักเรียนสามารถเรียนได้ตามความสนใจ และตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง
3. ส่งเสริมและฝึกหัดให้ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบตนเองและสังคม
4. ช่วยให้การเรียนเป็นอิสระจากบุคลิกภาพของผู้สอน เนื่องจากผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้บรรยายมาเป็นผู้แนะนำ ช่วยเหลือ และใช้ชุดการสอนทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ แทนครู
5. แก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะชุดการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และตามโอกาสที่เอื้ออำนวยให้แก่ผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่างกัน
6. สร้างความพร้อม และความมั่นใจให้แก่ครู เพราะในการผลิตชุดการสอนนั้นได้จัดระบบการใช้สื่อการสอน ทั้งการผลิตสื่อการสอน กิจกรรม ตลอดจนข้อแนะนำการใช้สำหรับผู้สอน สามารถนำไปใช้ได้ทันที
7. ส่งเสริมการเรียนแบบต่อเนื่องหรือการศึกษาตลอดชีพ เพราะสามารถนำชุดการสอนไปศึกษาด้วยตนเองได้ทุกเวลา และทุกสถานที่
8. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพราะชุดการสอนได้ผลิตขึ้นโดยใช้วิธีระบบและกลุ่มผู้มีความรู้ความสามารถ มีการทดลองใช้จนแน่ใจว่าใช้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้วจึงนำออกใช้
ขั้นตอนในการผลิตชุดการสอน
การผลิตชุดการสอนแบ่งขั้นตอนออกเป็น 10 ขั้น ด้วยกันคือ
1. กำหนดหมวดหมู่ เนื้อหา และประสบการณ์ อาจกำหนดเป็นหมวดวิชาหรือบูรณาการแบบ
1. กำหนดหมวดหมู่ เนื้อหา และประสบการณ์ อาจกำหนดเป็นหมวดวิชาหรือบูรณาการแบบ
สหวิทยาการได้ตามความเหมาะสม
2. กำหนดหน่วยการสอน โดยการแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็น หน่วยการสอน เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนได้ ภายใน 1 สัปดาห์ หรือให้เสร็จสมบูรณ์ได้ภายในการสอน 1 ครั้ง อาจเป็น 1-2 ชั่วโมง โดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาวิชาหรือระดับชั้น
3. กำหนดหัวเรื่อง ผู้สอนควรกำหนด หัวเรื่องต่าง ๆ ที่จะสอนว่า ในการสอนแต่ละครั้งจะจัดประสบการณ์ใดบ้างให้แก่ผู้เรียน โดยพิจารณาเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนในเนื้อหานั้น ๆ ประกอบกัน
4. กำหนดมโนมติ และหลักการ ในการกำหนด มโนมติ และหลักการนี้ จะต้องสอดคล้องกับหน่วยการสอนและหัวเรื่อง โดยสรุปรวม แนวคิด สาระ และหลักเกณฑ์สำคัญไว้เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาที่จะสอนให้สอดคล้องกัน โดยพิจารณาว่าในหัวเรื่องนั้นมีสาระสำคัญหรือหลักเกณฑ์อะไร ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้หรือเกิดขึ้นหลังจากการเรียน
5. กำหนดวัตถุประสงค์ ในการผลิตชุดการสอนนั้นควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวเรื่องโดยเขียนเป็นวัตถุประสงค์ทั่วก่อน แล้วจึงเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อที่จะทราบได้ว่าผู้เรียนควรจะต้องมีพฤติกรรมอย่างไรหลังจากเรียนในเรื่องนั้น ๆ แล้ว
6. กำหนดกิจกรรมการเรียน ในการกำหนดกิจกรรมการเรียน ควรจะพิจารณาให้สอด-คล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพราะกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนจะต้องประกอบกิจกรรมนั้น จะต้องสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อันเป็นแนวทางในการ เลือก ผลิต และใช้สื่อการสอน กิจกรรมทุกอย่างที่ผู้เรียนปฏิบัติ เช่น ตอบคำถาม ปฏิบัติกิจกรรมตามคำสั่ง เล่นเกม ฯลฯ
7. กำหนดแบบประเมินผล ควรจะต้องประเมินผลให้ตรงตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ โดยใช้แบบทดสอบ และใช้วิธีการพิจารณาแบบอิงเกณฑ์ เพื่อผู้สอนจะได้ทราบว่า หลังจากผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนได้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
8. เลือกและผลิตสื่อการสอน ในการผลิตชุดการสอนนี้ วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีการต่าง ๆ ที่ครูใช้ จัดว่าเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น เมื่อผลิตสื่อแต่ละหัวเรื่องแล้ว ควรจัดสื่อเหล่านั้นไว้เป็นหมวดหมู่ และจัดไว้ในซองหรือกล่องที่เตรียมไว้ก่อนนำไปทดสอบหาประสิทธิภาพ ในขั้นนี้จะพิจารณาว่าในลักษณะของเนื้อหาและลักษณะผู้เรียน สื่อชนิดใดหรือกิจกรรมการเรียนแบบใดจึงจะสอดคล้องและทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนได้มากที่สุด
9. ทดสอบประสิทธิภาพชุดการ สอน เมื่อสร้างชุดการสอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรนำชุดการสอนไปทดสอบหาประสิทธิภาพ นำชุดการสอนไปทดลองใช้ เพื่อดูว่าชุดการสอนดังกล่าวสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เพียงไร เมื่อพบว่ามีข้อบกพร่องก็จะต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขจนทำให้การสอนบรรลุประสงค์ที่วางไว้โดยผู้สร้างควรกำหนดเกณฑ์ตามหลักการที่กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมสอน สอนเสร็จแล้วมีความจำเป็นที่จะต้อง
2. กำหนดหน่วยการสอน โดยการแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็น หน่วยการสอน เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนได้ ภายใน 1 สัปดาห์ หรือให้เสร็จสมบูรณ์ได้ภายในการสอน 1 ครั้ง อาจเป็น 1-2 ชั่วโมง โดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาวิชาหรือระดับชั้น
3. กำหนดหัวเรื่อง ผู้สอนควรกำหนด หัวเรื่องต่าง ๆ ที่จะสอนว่า ในการสอนแต่ละครั้งจะจัดประสบการณ์ใดบ้างให้แก่ผู้เรียน โดยพิจารณาเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนในเนื้อหานั้น ๆ ประกอบกัน
4. กำหนดมโนมติ และหลักการ ในการกำหนด มโนมติ และหลักการนี้ จะต้องสอดคล้องกับหน่วยการสอนและหัวเรื่อง โดยสรุปรวม แนวคิด สาระ และหลักเกณฑ์สำคัญไว้เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาที่จะสอนให้สอดคล้องกัน โดยพิจารณาว่าในหัวเรื่องนั้นมีสาระสำคัญหรือหลักเกณฑ์อะไร ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้หรือเกิดขึ้นหลังจากการเรียน
5. กำหนดวัตถุประสงค์ ในการผลิตชุดการสอนนั้นควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวเรื่องโดยเขียนเป็นวัตถุประสงค์ทั่วก่อน แล้วจึงเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อที่จะทราบได้ว่าผู้เรียนควรจะต้องมีพฤติกรรมอย่างไรหลังจากเรียนในเรื่องนั้น ๆ แล้ว
6. กำหนดกิจกรรมการเรียน ในการกำหนดกิจกรรมการเรียน ควรจะพิจารณาให้สอด-คล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพราะกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนจะต้องประกอบกิจกรรมนั้น จะต้องสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ อันเป็นแนวทางในการ เลือก ผลิต และใช้สื่อการสอน กิจกรรมทุกอย่างที่ผู้เรียนปฏิบัติ เช่น ตอบคำถาม ปฏิบัติกิจกรรมตามคำสั่ง เล่นเกม ฯลฯ
7. กำหนดแบบประเมินผล ควรจะต้องประเมินผลให้ตรงตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ โดยใช้แบบทดสอบ และใช้วิธีการพิจารณาแบบอิงเกณฑ์ เพื่อผู้สอนจะได้ทราบว่า หลังจากผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนได้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
8. เลือกและผลิตสื่อการสอน ในการผลิตชุดการสอนนี้ วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีการต่าง ๆ ที่ครูใช้ จัดว่าเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น เมื่อผลิตสื่อแต่ละหัวเรื่องแล้ว ควรจัดสื่อเหล่านั้นไว้เป็นหมวดหมู่ และจัดไว้ในซองหรือกล่องที่เตรียมไว้ก่อนนำไปทดสอบหาประสิทธิภาพ ในขั้นนี้จะพิจารณาว่าในลักษณะของเนื้อหาและลักษณะผู้เรียน สื่อชนิดใดหรือกิจกรรมการเรียนแบบใดจึงจะสอดคล้องและทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนได้มากที่สุด
9. ทดสอบประสิทธิภาพชุดการ สอน เมื่อสร้างชุดการสอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรนำชุดการสอนไปทดสอบหาประสิทธิภาพ นำชุดการสอนไปทดลองใช้ เพื่อดูว่าชุดการสอนดังกล่าวสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เพียงไร เมื่อพบว่ามีข้อบกพร่องก็จะต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขจนทำให้การสอนบรรลุประสงค์ที่วางไว้โดยผู้สร้างควรกำหนดเกณฑ์ตามหลักการที่กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมสอน สอนเสร็จแล้วมีความจำเป็นที่จะต้อง
10. การใช้ชุดการสอน หลังจากที่สร้างชุดการสอนและนำไปหาค่าประสิทธิภาพ ปรับปรุง แก้ไข ได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนก็สามารถนำไปสอนผู้เรียนได้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ เช่น ชุดการสอนแบบบรรยาย ชุดการสอนแบบรายบุคคล และชุดการสอนสำหรับกิจกรรมกลุ่มและสามารถใช้ได้ทุกระดับ เช่น อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา โดยมีขั้นตอนการใช้ดังนี้
10.1 ขั้นทดสอบก่อนเรียน ควรจะมีการตรวจสอบความรู้พื้นฐาน ในเรื่องที่จะ เรียนก่อน
10.2 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ในขั้นนี้ผู้สอนควรนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนก่อนเรียน
อีกทั้งเป็นการแนะนำวิธีการเรียนโดยใช้ชุดการสอนในกรณีที่ผู้เรียนยังไม่เคยเรียนโดยวิธีนี้
จะได้ทราบขั้นตอนการเรียน การปฏิบัติตนในกระบวนการเรียนรู้
เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างถูกขั้นตอนจะลดปัญหาในการเรียน
ในกรณีที่ใช้ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม ควรแบ่งกลุ่มผู้เรียนและอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ
ในการเรียนโดยใช้ชุดการสอน
10.3 ขั้นประกอบกิจกรรม ในการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอน ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี แต่คำสั่งที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามนั้นควรมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะชุดการสอนแบบรายบุคคล และแบบกิจกรรมกลุ่ม ภาษาที่ใช้ในการอธิบายควรเข้าใจง่ายและชัดเจนผู้สอนควร ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเมื่อผู้เรียนเกิดปัญหา
10.4 ขั้นสรุปและทดสอบหลังเรียน เมื่อผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้สอนควรสรุปมโนมติหรือความคิดรวบยอดต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ทดสอบหลังเรียน เพื่อให้ทราบว่าหลังจากที่ผู้เรียนเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ในเรื่องหรือไม่ ถ้ายังไม่เข้าใจ ผู้สอนควรอธิบาย หรือให้ประกอบกิจกรรมอื่น ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังทำให้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน
10.3 ขั้นประกอบกิจกรรม ในการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอน ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี แต่คำสั่งที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามนั้นควรมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะชุดการสอนแบบรายบุคคล และแบบกิจกรรมกลุ่ม ภาษาที่ใช้ในการอธิบายควรเข้าใจง่ายและชัดเจนผู้สอนควร ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเมื่อผู้เรียนเกิดปัญหา
10.4 ขั้นสรุปและทดสอบหลังเรียน เมื่อผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้สอนควรสรุปมโนมติหรือความคิดรวบยอดต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ทดสอบหลังเรียน เพื่อให้ทราบว่าหลังจากที่ผู้เรียนเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ในเรื่องหรือไม่ ถ้ายังไม่เข้าใจ ผู้สอนควรอธิบาย หรือให้ประกอบกิจกรรมอื่น ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังทำให้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน
10.5 ขั้นประเมินผลการเรียน โดยการทำข้อทดสอบหลังเรียนเพื่อประเมินดูว่าผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่
เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนในกรณีที่ยังไม่ผ่านจุดประสงค์ที่กำหนดข้อใดข้อหนึ่ง
รูปที่
1 ภาพหน้าต่างเข้าสู่บทเรียน
ส่วนประกอบและการเขียนคู่มือครู
1. คำนำ
2. ส่วนประกอบของชุดการสอน
3. คำชี้แจงสำหรับผู้สอน
4. สิ่งที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียม
5. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
6. การจัดห้องเรียน
7. แผนการสอน
8. เนื้อหาสาระของชุดการสอน
9. แบบฝึกหัดปฏิบัติหรือกระดาษตอบคำถาม
10. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
1. คำนำ
2. ส่วนประกอบของชุดการสอน
3. คำชี้แจงสำหรับผู้สอน
4. สิ่งที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียม
5. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
6. การจัดห้องเรียน
7. แผนการสอน
8. เนื้อหาสาระของชุดการสอน
9. แบบฝึกหัดปฏิบัติหรือกระดาษตอบคำถาม
10. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
หลักในการเขียนแบบฝึกปฏิบัติหรือคู่มือนักเรียน
1. มีคำชี้แจงในการใช้แบบฝึกปฏิบัติ
2. มีตารางปฏิบัติงานที่ผู้เรียนจะวางแผนไว้เอง
3. ควรมีแผนการสอนโดยสังเขป
4. เตรียมเนื้อหากับกิจกรรมให้ตรงกัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัส
5. ออกแบบให้สะดุดตาน่าอ่าน
6. เนื้อหาในแบบฝึกปฏิบัติควรให้ตรงกับเนื้อหา
1. มีคำชี้แจงในการใช้แบบฝึกปฏิบัติ
2. มีตารางปฏิบัติงานที่ผู้เรียนจะวางแผนไว้เอง
3. ควรมีแผนการสอนโดยสังเขป
4. เตรียมเนื้อหากับกิจกรรมให้ตรงกัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัส
5. ออกแบบให้สะดุดตาน่าอ่าน
6. เนื้อหาในแบบฝึกปฏิบัติควรให้ตรงกับเนื้อหา
รูปที่ 2
ภาพชุดการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย
ข้อดีของชุดการสอน
1. ช่วยสร้างความพร้อมและความมั่นใจให้แก่ผู้สอน
1. ช่วยสร้างความพร้อมและความมั่นใจให้แก่ผู้สอน
2. ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
3. ช่วยให้การเรียนเป็นอิสระจากอารมณ์และความสามารถในการสอนของผู้สอน
4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มแสดงความคิดเห็น
5. ช่วยเร้าความสนใจ
ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน
6.
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
7.
ส่งเสริมและฝึกหัดให้ผู้เรียน
8.ช่วยให้การเรียนเป็นอิสระ
จากบุคลิกภาพของผู้สอน
9.แก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
ข้อเสียของชุดการสอน
การลงทุนในการการผลิต
การทดลองใช้และการหาประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และใช้เวลานานกว่าที่สามารถพัฒนาชุดการสอนให้สมบูรณ์มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับ
ข้อจำกัดของชุดการสอน
1. ความยุ่งยากในการผลิต
2. ปัญหาความยุ่งยากในการใช้
3. ปัญหางบประมาณในการผลิต
4. ปัญหาการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริหารและผู้สอน
5. ปัญหาเกี่ยวกับเวลาในการผลิตชุดการสอน
แหล่งที่มาของข้อมูล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)